logo backup

พระเครื่อง

สถิติผู้เข้าเยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1367
mod_vvisit_counterเดือนนี้27832
mod_vvisit_counterเดือนที่ผ่านมา76155
mod_vvisit_counterทั้งหมด12770228
เรามี 15 บุคคลทั่วไป ออนไลน์
blank

วิรัช กรุงเทพฯ

วิรัช กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน อ.ช้าง–วัดห้วย             ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย ผมขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อวิรัช อยู่กรุงเทพฯ ผมเป็นเพื่อน...

อ่านเพิ่มเติม

สมบัติ กรุงเทพฯ

สมบัติ กรุงเทพฯ

  หมวดตอบจดหมาย สวัสดีครับ... อ.ช้าง ที่นับถือ             ผมชื่อสมบัติครับ ผมมีพระเครื่องและเครื่องรางจะมาฝาก อ.ช้าง ลงขายในหมวดตอบจดหมา...

อ่านเพิ่มเติม

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

ประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

หมวดตอบจดหมาย เรียน... อ.ช้าง วัดห้วย             ผมได้เคยส่งภาพคตขนุนมาสอบถาม อ.ช้าง อยู่ 1 ครั้งก็นานมากแล้ว และก็สอบถามว่า   คตขนุ...

อ่านเพิ่มเติม

หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม.

หมวดพระหลักฝากขาย  เกรดพรีเมี่ยม.

  หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม   สวัสดี อ.ช้าง–วัดห้วย ที่นับถือ             ผมได้ติดตามเว็บช้าง–วัดห้วย โดยเฉพาะหมวดตอบจดหมายเก...

อ่านเพิ่มเติม

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

รายการเพิ่มเติมใหม่ !!!

      อัพเดทวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 หมวดพระหลักฝากขาย เกรดพรีเมี่ยม คุณอำนาจ กรุงเทพฯ - พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ 2 - พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง พิมพ...

อ่านเพิ่มเติม
Share

โดย  ช้าง วัดห้วย

 

               

 

010203

 

                คนไทยในสมัยโบราณ จะนิยมพกพาเครื่องราง ของขลัง ติดตัว เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ เครื่องรางที่เป็นที่นิยม ได้แก่ เขี้ยวเสือ ตะกรุด เบี้ยแก้ คตขนุน และหมากทุย วันนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง หมากทุย ซึ่งเป็นเครื่องรางอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างหายาก และสร้างได้ยากมาก หมากทุย  ก็มีสร้างหลายสำนัก แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและโดดเด่นที่สุด และเป็นเบอร์ 1 ของวงการ ต้องยกให้หมากทุย ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

วิธีการสร้างหมากทุย ของหลวงปู่เอี่ยม

                เริ่มจากการเสาะหาหมากทุย หลวงปู่เอี่ยม จะให้ศิษย์ใกล้ชิดที่ได้รับการถ่ายทอดวิชา      การสร้างหมากทุย เป็นคนไปหา หมากที่ใช้จะต้องเป็นหมากตายพราย คือจะต้องเป็นต้นหมากยืนแห้งตายทั้งต้น และจะยังมีลูกหมากติดอยู่ที่ทลายด้วย การเก็บหมาก หลวงปู่จะเป็นคนกำหนดฤกษ์ยาม ให้ลูกศิษย์ปีนขึ้นไป เวลาปีนแต่ละช่วงต้องท่องคาถากำกับทุกขั้นตอน จนถึงคอหมาก ท่องคาถากำกับครั้งสุดท้าย สายตาเพ่งไปที่ลูกหมาก แล้วใช้ปากงับผลหมากลูกนั้นลงมา เมื่อได้ลูกหมากลงมา หลวงปู่จะคว้านเอาเนื้อในออก และบรรจุกระดาษชิ้นเล็ก ๆ ลงยันต์ “นะปถมัง” ไว้ตรงกลางกระดาษ ด้านบนลงยันต์หัวใจพระรัตนตรัย คือ “มะ อะ อุ” ด้านล่างลงยันต์หัวใจธาตุสี่     “นะ มะ พะ ทะ” ส่วนมุมทั้ง 4 ทิศลงยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ “นะ โม พุธ ธา ยะ” (ตัว ยะ ลงตรงกลาง นะปถมัง) ด้านซ้ายและขวากำกับด้วยยันต์มหาอุด “อุด ธัง อัดโธ” เมื่อบรรจุกระดาษที่ลงอักขระยันต์ไว้ในผลหมากแล้ว ต้องปิดผลหมากด้วย “ชันโรง” ที่ผ่านการปลุกเสกชันโรง หลวงปู่เอี่ยมจะเลือกเฉพาะรังที่ตัวชันโรงทิ้งรังไปแล้ว

                จะเห็นได้ว่ากรรมวิธีการสร้างหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยมนั้น แต่ละขั้นตอนจะมีคาถากำกับตลอด ตั้งแต่การคัดลูกหมาก จนถึงอุดปากด้วยชันโรงจึงเสร็จสิ้น ภายหลัง ผู้ที่ได้หมากทุยของหลวงปู่เอี่ยมจะนำไปถักเชือกและมีห่วงไว้แขวนด้านบน แล้วไปลงรักหรือยางไม้เพื่อความคงทน ส่วนทางด้านพุทธคุณส่วนใหญ่จะเน้นไปทางแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ และยังมีคงกระพัน มหาอุด หยุดกระสุนปืนอีกด้วย

หลักการพิจารณาหมากทุย หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

                -      การคัดเลือกหมากทุยควรจะเลือกลูกเล็ก ๆ ยิ่งเล็กยิ่งดี มีราคาแพง และมีน้ำหนักเบา เพราะเนื้อด้านในถูกคว้านเนื้อออกแล้ว และมีความเก่า แห้งตามอายุ

                -      ลายถักเชือก เชือกมีหลายแบบ เพราะผู้ที่ได้รับมา มาถักเชือกกันเองภายหลัง ให้เลือกลายถักแบบเรียบ ๆ เป็นระเบียบ และให้สังเกตเชือกเก่าต้องเป็นเชือกปอหรือเชือกป่านเท่านั้น

                -      การลงรักหรือยางไม้ เพื่อความคงทนของหมากทุย จะต้องมีความเก่า ความแห้งตามอายุ เช่น รักบางลูกจะต้องมีรอยปริแตกเป็นริ้ว ๆ คล้าย ๆ เบี้ยแก้นั้นแหละ รักมีทั้งรักดำและรักแดง ส่วนพวกลงยางไม้ก็มีดั่งเช่น หมากทุยลูกตัวอย่าง จะลงยางไม้สีออกน้ำตาลเข้มออกแดง ๆ และจะลงยางไม้บาง ๆ ไม่หนาเกินจะได้เห็นลายถักเชือกได้อย่างชัดเจน

 
webboard

2013-01contest

banner-center

banner-center

banner-center

blank

ท่านสนใจหมวดหมู่ใดเป็นพิเศษ
 
< เมษายน 2024 >
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
  1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30